http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5_(Analysis_and_Interpretation_of_Data)/รวบรวมและกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ไว้ว่าข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวม โดยทั่วไปจะมีจำนวนมาก เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะมีการดำเนินกับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแยกประเภท การจัดชั้น การสังเขป การหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของข้อมูล การพิจารณาหาว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นหรือไม่อย่างไร ตลอดจนอาจทำการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ กระบวนการต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะดำเนินการในรายละเอียดอย่างไรและเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และเรื่องที่ต้องการศึกษา ในบางกรณี การวิเคราะห์ข้อมูลก็ทำโดยใช้กราฟ ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าบางขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการจัดชั้นหรือแยกประเภทของข้อมูล จะต้องเตรียมวางแผนพร้อมกันไปกับการเก็บรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1 ได้รวบรวมและกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ไว้ว่าการเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data)
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง
http://www.gotoknow.org/posts/492737ได้รวบรวมและกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ไว้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis ) มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ และการตีความข้อมูล ( Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย ( The research process ) เพื่อเรียนรู้อะไร เพื่ออธิบาย ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...
คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..? มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative data )
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น เช่น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน มีความหมายแฝงอยู่ ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลตรง นับเป็นจำนวนได้ เช่น จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ อายุของกลุ่มชนนี้ เป็นต้น
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่น ๆ เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์ ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้ จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล
เงื่อนไขท้ายสุด ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง เออเอง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ตามมุมคิดของณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน สังคม วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย
การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...
คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..? มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative data )
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น เช่น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน มีความหมายแฝงอยู่ ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลตรง นับเป็นจำนวนได้ เช่น จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ อายุของกลุ่มชนนี้ เป็นต้น
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่น ๆ เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์ ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้ จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล
เงื่อนไขท้ายสุด ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง เออเอง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ตามมุมคิดของณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน สังคม วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย
สรุป
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวม โดยทั่วไปจะมีจำนวนมาก เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะมีการดำเนินกับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแยกประเภท การจัดชั้น การสังเขป การหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของข้อมูล การพิจารณาหาว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นหรือไม่อย่างไร ตลอดจนอาจทำการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ กระบวนการต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะดำเนินการในรายละเอียดอย่างไรและเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และเรื่องที่ต้องการศึกษา ในบางกรณี การวิเคราะห์ข้อมูลก็ทำโดยใช้กราฟ ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าบางขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการจัดชั้นหรือแยกประเภทของข้อมูล จะต้องเตรียมวางแผนพร้อมกันไปกับการเก็บรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล
เอกสารอ้างอิง
http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5_(Analysis_and_Interpretation_of_Data)/เข้าถึงเมื่อวันที่ 29/11/2012
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/ research/re12.htm#06-1 เข้าถึงเมื่อวันที่ 29/11/2012
http://www.gotoknow.org/posts/492737 เข้าถึงเมื่อวันที่ 29/11/2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น